บ.วันเอ็ม จำกัด เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้าง รับสร้างบ้าน ที่ใช้วัสดุเกรด A ควบคุมออกแบบโดยวิศวกร มีสำนักงานที่ศรีสะเกษและอุบลราชธานี

วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

       จากเหตุการณ์แผ่นดินที่ จ.เชียงราย เมื่อช่วงต้นเดือน พฤษภาคม 2557 ที่ผ่าน เป็นแผ่นดินไหวบนบกขนาด 6.3 ความลึก 10 กม. บริเวณ ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย ขอให้ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแผ่นดินไหวอย่าได้ตื่นตระหนก และมีอาฟเตอร์ช็อคตามมาอีกหลายครั่ง ส่งผลให้บ้าน เรือน อาคารที่อยู่บ้านประชาชนเสียหายอย่างหนัก พร้อมทั้งมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ

   ภาพจากไทยรัฐ
          
        จึงมีการคิดเสริมโครงสร้างบ้านเรือให้แข็งแรงขึ้น โดย รศ.ดร.อมร พิมานมาศ รองเลขาธิการสภาวิศวกร อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิจัยโครงการ “ศึกษาวิธีการออกแบบและเสริมกำลังอาคารในประเทศเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
       
       "​บทเรียนหนึ่งที่ได้รับจากความเสียหายของโครงสร้างนับพันหลังคาเรือนจากเหตุแผ่นดินไหวเชียงราย คือ โครงสร้างบ้านเรือนที่ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานทางวิศวกรรมเป็นสาเหตุหลักให้เกิดความเสียหายอย่างมากมาย เนื่องจากชาวบ้านก่อสร้างบ้านกันตามความเข้าใจของตัวเอง หรือลอกเลียนแบบจากบ้านข้างเคียง โดยเน้นที่ราคาประหยัดเป็นหลัก จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การก่อสร้างบ้านไม่ได้มาตรฐานทางวิศวกรรม
       
       ​หน่วยงานราชการจึงควรจัดหาแบบบ้านมาตรฐานต้านแผ่นดินไหว เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้เป็นตัวอย่างในการก่อสร้างบ้านให้ปลอดภัย สำหรับบทความนี้จะขอเสนอตัวอย่างการเสริมเหล็กในโครงสร้างบ้านปูนเพื่อต้านแผ่นดินไหว โดยมีรายละเอียดของ คาน เสา ข้อต่อระหว่างคานและเสา และการทำของอที่ปลายเหล็กปลอก ดังนี้
       

       1.แบบเสริมเหล็กคาน

       บริเวณที่ต้องเสริมเหล็กให้แข็งแรงคือบริเวณปลายคานทั้งสองด้าน ดังนั้นการเสริมเหล็กปลอกในคานจะแบ่งเป็น 2 บริเวณ คือ 1. บริเวณปลายคานวัดออกมาจากเสาสองเท่าของความลึกคาน ให้เสริมเหล็กปลอกมีระยะเรียงไม่เกิน หนึ่งในสี่ของความลึกคาน และ 2. บริเวณกลางคานให้เสริมเหล็กปลอกมีระยะเรียงไม่เกิน ครึ่งหนึ่งของความลึกคาน เช่น คานลึก 40 ซม. ต้องเสริมเหล็กปลอกขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม. มีระยะเรียงไม่เกิน 10 ซม. (หรือหนึ่งในสี่ของความลึกคาน) ในระยะ 80 ซม. จากปลายคานทั้งสองด้าน ส่วนบริเวณตรงกลางใช้เหล็กปลอกขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม. วางเรียงกันไม่เกิน 20 ซม. (หรือครึ่งหนึ่งของความลึกคาน)
       
      

 2.แบบเสริมเหล็กเสา

       บริเวณที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือ ปลายเสาทั้งด้านบนและด้านล่าง การเสริมเหล็กปลอกในเสาจึงแบ่งเป็น 2 บริเวณเช่นกัน คือ 1. บริเวณปลายเสาวัดออกมาเป็นระยะ 50 ซม. ให้เสริมเหล็กปลอกมีระยะเรียงไม่เกิน ครึ่งหนึ่งของขนาดเสา และ 2. บริเวณกลางความสูงเสาให้เสริมเหล็กปลอกมีระยะเรียงไม่เกิน ขนาดเสา เช่น เสาหน้าตัด 20x20 ซม. ต้องเสริมเหล็กปลอกขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม. ในระยะ 50 ซม. ที่ปลายบนและล่าง ให้มีระยะเรียงไม่เกิน 10 ซม. (หรือครึ่งหนึ่งของขนาดเสา) แต่แนะนำให้ใช้เพียง 7.5 ซม. ส่วนบริเวณตรงกลางความสูงเสาให้เสริมเหล็กปลอกขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม. วางเรียงกันไม่เกิน 20 ซม. (ขนาดเสา) แต่แนะนำให้ใช้เพียง 15 ซม. ซึ่งดีกว่ามาตรฐาน ในขณะที่เสาตอม่อหรือเสาใต้ถุนบ้านให้เสริมเหล็กปลอกมีระยะเรียงไม่เกิน ครึ่งหนึ่งของขนาดเสา ตลอดความสูงของเสา
                บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ก็ควรที่จะเสริมมาตรฐานของการสร้างอาคารบ้านเรือนให้แข้งแรงมากขึ้น โดย บริาัทวันเอ็ม จำกัด มีการตรวจสอบโครงสร้างต่างๆของบ้าน แบบก่อสร้าง พร้อมวัสดุก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน หากต้องการสร้างบ้านที่มีความคงทนแข็งแรง สามารถปรึกาาเราที่ที่ สำนักกงาน ที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีวิสวกรให้คำปรึกษา แนะนำการสร้างบ้าน 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น